เหตุผลที่ควรใช้ Framework ในการพัฒนา Web Application ด้วยภาษา PHP

wave

เหตุผลที่ควรใช้ Framework ในการพัฒนา Web Application ด้วยภาษา PHP

มานพ กองอุ่น 17 พ.ค. 2015 10:43:22 16,614

สวัสดีครับ สำหรับบทความนี้เราจะมาดูว่าเอะทำไมต้องใช้ Framework ในการพัฒนา Web Application ด้วยภาษา PHP กันนะครับ เผื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้สำหรับผู้ที่กำลังจะมาเขียน Web Application 

อันนี้เป็นข้อสรุปจากประสบการณ์ผู้เขียนนะครับ ลองไปดู ข้อดีข้อเสีย ของการใช้กับไม่ใช้ PHP Framework กันครับ

ข้อเสียของการไม่ใช้ Framework

  1. การจัดการเรื่องระบบ Template ที่ต้องการเปลี่ยน Title ของ Web Application ตามเนื้อหา และหน้าตาของระบบทั้งหมด หากมีการเปลี่ยนแปลงต้องไล่แก้ Code กันให้วุ่น
  2. ระบบการจัดการกับข้อมูลต้องมาเขียน Class ต่างๆ ในการจัดการ หรือถ้าตอนนี้ดีหน่อยที่มี PDO มาช่วย
  3. เราเขียน Code ไว้สำเร็จระบบสวยงามทำงานได้ แต่พอเอาให้คนอื่นพัฒนาต่อ แฮะๆ เขาจะบอกว่า "ผมเขียนใหม่ดีกว่า"
  4. หากมีการเขียนกันหลายคนต้องมานั่งวางระเบียบและธรรมเนียมให้ตรงกัน ไม่งั้นเพื่อนๆ จะบอกว่าเอะ "อันนี้คืออะไร มันมาจากไหน"

ข้อดีของการไม่ใช้ Framework

  1. เขียนโปรแกรมได้ตามใจ ต้องการอะไร เขียนขึ้นมาได้เลย
  2. ทำงานได้คนเดียวสบายใจ ^ ^

ข้อดีของ PHP Framework

  1. มีธรรมเนียมการเขียนที่ชัดเจน โปรแกรมเมอร์คนเก่าลาออก คนใหม่เข้ามารู้ Framework ตัวนั้นเขียนต่อได้เลย
  2. ลดเวลาในการสร้าง Create, Read, Update และ Delete หรือ CRUD เพราะ Framework ส่วนใหญ่มีระบบ Generator ให้ พูดง่ายๆ ว่า Gen Code Insert Update Delete ให้ได้เลย ลดเวลาในการเขียนส่วนนี้ไปอีก
  3. มีระบบในการเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลได้มากกว่า 1 ชนิด เช่น เชื่อมต่อไปยัง MySQL, MS SQL, ProgreSQL, SQLite และอื่นๆ ได้หลากหลาย (ทั้งนี้ขึ้นกับความสามารถของแต่ละ Framework)

ข้อเสียของ PHP Framework

  1. มี Class จำนวนมากมาย เพื่อให้การทำงานอย่างเป็นระบบ ทำให้ต้องเขียน Class ที่เป็นตัวช่วยให้ผู้พัฒนาใช้ แต่บาง Class อาจไม่จำเป็น
  2. ใช้เวลาในการเรียนรู้และศึกษาธรรมเนียมของการเขียนโปรแกรมใน Framework นั้นๆ (แต่ระยะหลังนี้มีการใช้มาตรฐาน PSR ในการพัฒนา ต่อไปเรียนรู้ Framework ตัวเดียวแต่สามารถเขียนได้ทุก Framework)

เอาล่ะครับ มาถึงตอนนี้ก็พอจะเห็นแนวแล้วล่ะว่า PHP Framework ย่อมน่าจะดีกว่าการเขียนแบบ ธรรมดาแน่ๆ แล้วมีคำถามว่า จะเลือก Framework ไหนดีเป็น Framework คู่ใจ ^ ^

วิธีการเลือกสำหรับผมนะครับผมมีเกณฑ์การเลือกดังนี้

  1. เรื่อง Performance เป็น Performance ของระบบครับ Framework ที่ดีควรออกแบบมาให้สามารถมีการประมวลผลที่รวดเร็วครับ
  2. เรื่อง Learning Time เป็น ระยะเวลาในการเรียนรู้ครับ Framework ที่ดีควรสามารถเรียนรู้ได้ง่าย และไว เพราะเราต้องนำไปพัฒนา Product ให้ได้ไว วิธีการดูให้ไปอ่าน Documentation และ Tutorial ของแต่ละ Framework ครับ จะรู้แนวที่เขาได้เขียนไว้ และแน่นอน เราก็จะต้องเขียนแบบนั้นเช่นกัน
  3. เรื่องทีมงานในการพัฒนา การแก้ไข การปรับปรุงให้เข้ากับเทคโนโลยีปัจจุบัน ก็ควรคำนึงถึงด้วยนะครับ
  4. พิจารณาจากสถิติจาก Web Site ต่างๆ ที่มีการวัด และนำมาเผยแพร่ครับ แต่ก็ฟังหูไว้หูนะครับ ลองไปดูมีหลายที่ครับ
    1. https://www.techempower.com/benchmarks/
    2. http://blog.a-way-out.net/blog/2015/03/27/php-framework-benchmark/
    3. http://codegeekz.com/20-best-php-frameworks-developers-august-2014/
    4. http://socialcompare.com/en/comparison/php-frameworks-comparison

เมื่อลองพิจารณาดูก็คงเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้แล้วนะครับ ดูจากหลายๆ ปัจจัย เพื่อเลือก Framework ให้เป็น Framework คู่ใจในการพัฒนา Web Application ด้วยภาษา PHP กันต่อไปนะครับ ^ ^

 

ความคิดเห็น