ในภาษา PHP ตัวแปรสามารถมีชนิดข้อมูลได้หลายแบบ และแต่ละแบบก็สามารถทำอะไรได้ต่างกันเช่นกัน
สำหรับชนิดข้อมูลใน PHP นั้นมีดังนี้
ข้อความ (String)
จำนวนเต็ม (Integer)
ทศนิยม (Float)
บูลีน (Boolean)
ตัวแปรชุด (Array)
Object
NULL
ตัวแปรระบบ
ข้อความ (String)
ตัวแปรชนิด string คือ ข้อความหรือตัวอักษร ตัวแปรชนิดนี้ไม่ได้ถูกจำกัดขนาด
ตัวอย่าง
<?php
$a = "มานพ";
$b = 'กองอุ่น';
echo $a."<b r />";
echo $b."<b r />";
echo $a.' '.$b;
?>
การแสดงผล
มานพ
กองอุ่น
มานพ กองอุ่น
จำนวนเต็ม (Integer)
ตัวแปรชนิด integer เป็นจำนวนเต็ม(ไม่มีจุดทศนิยม)ซึ่งมีค่า -2,147,483,648 ถึง +2,147,483,647 โดยมีกฏการใช้งานดังนี้
- ต้องเป็นตัวเลข 0-9
- ต้องไม่มี Comma (,) หรือช่องว่าง
- ต้องไม่มีจุดทศนิยม
- ค่าที่ได้จะเป็นจำนวนบวก (+) หรือลบ(-) ก็ได้
ตัวอย่าง
<?php
$a = 12345;
var_dump($a);
?>
การแสดงผล
int 2147483647
float 2147483648
นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดได้ในรูปแบบ ฐานสิบ(decimal) ฐานแปด(octal) ฐานสิบหก(hexadecimal) ได้อีก
หมายเหตุ ฐานแปดมี 0 นำหน้า ฐานสิบหกมี 0x นำหน้า
ตัวอย่าง
<?php
$a = 123456; //เลขฐาน 10
echo $a;"< br>";
$a = 01234; // เลขฐานแปด (มีค่า 668 ในเลขฐานสิบ)
echo $a;"< br>";
echo "< br>";
$a = 0x1BC; // เลขฐานสิบหก (มีค่า 444 ในเลขฐานสิบ)
echo $a;
?>
การแสดงผล
123456
668
444
ทศนิยม (Float)
เป็นจำนวนจริงที่มีค่าเป็นทศนิยม
ตัวอย่าง
<?php
$a = 7.34;
$b = 4.3e8;
$c = 3E-6;
echo $a."< br>";
echo $b."< br>";
echo $c;
var_dump($a);
var_dump($b);
var_dump($c);
?>
การแสดงผล
7.34
430000000
3.0E-6
float 7.34
float 430000000
float 3.0E-6
บูลีน (Boolean)
บูลีน Boolean มีเพียงสองค่าคือ true กับ false
ตัวอย่าง
<?php
$a = true;
$b = false;
var_dump($a);
var_dump($b);
?>
การแสดงผล
boolean true
boolean false
มี ตัวดำเนินการ (operator) สำหรับคืนค่า (return) boolean ออกมาแล้วส่งให้ ตัวควบคุม (control structure)ด้วย
ตัวอย่าง
<?php
$name = "manop";
if($name){
echo $name;
}
?>
การแสดงผล
manop
ตัวแปรชุด (Array)
อาเรย์คือตัวแปรที่เก็บค่าในลักษณะของชุดข้อมูลในหนึ่งตัวแปร
รูปแบบของ Array คือ
array(key => value,...) หรือ
[key => value, ...] สำหรับ PHP5.4 ขึ้นไป
key อาจเป็น string หรือ integer
value เป็นค่าชนิดข้อมูลอะไรก็ได้
ตัวอย่าง
<?php
$arr = array("name"=>"myname","test"=>true,2=>false);
var_dump($arr);
?>
การแสดงผล
array (size=3)
'name' => string 'myname' (length=6)
'test' => boolean true
2 => boolean false
PHP Object
Object เป็นชนิดข้อมูลที่เก็บข้อมูล (Attribute) และการกระทำกับข้อมูล (Operation หรือ Method) ซึ่งจะต้องทำการสร้าง Class ขึ้นมาก่อนทำการสร้าง Object
ตัวอย่าง
<?php
class Person{
public $name;
public $gender;
public function setName($name){
$this->name = $name;
}
public function getName(){
return $this->name;
}
public function setGender($gender){
$this->gender = $gender;
}
public function getGender(){
return $this->gender;
}
}
$a = new Person;
$b = new Person;
$a->setName('Nikom');
$a->setGender('Male');
echo $a->getName()."<br>";
echo $a->getGender()."<br>";
$b->setName('Mali');
$b->setGender('Female');
echo $b->getName()."<br>";
echo $b->getGender();
var_dump($a);
var_dump($b);
?>
การแสดงผล
Nikom
Male
Mali
Female
object(Person)[1] public 'name' => string 'Nikom' (length=5) public 'gender' => string 'Male' (length=4)
object(Person)[2] public 'name' => string 'Mali' (length=4) public 'gender' => string 'Female' (length=6)
จะได้ว่า Object $a และ $b ถูกสร้างมาจาก Class Person ซึ่งทั้ง $a และ $b มีคุณสมบัติที่เหมือนกันทุกประการเพราะมาจาก Class เดียวกัน ทั้ง Attributes และ Operations แต่ $a และ $b เป็นคนละคนกัน ดูเพิ่มเติมเรื่องการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming)
NULL
Null หรือ นัล บางคนเรียกเนาล์ เป็นชนิดข้อมูลแบบพิเศษ ซึ่งมีเพียงค่าเดียวคือ null ซึ่งแปลว่าตัวแปรนี้ไม่มีค่าใดๆ เลยนั่นเอง หากประกาศตัวแปรโดยปราศจากค่า ตัวแปรเหล่านั้นจะมีค่าเป็น null โดยอัตโนมัติ
ตัวอย่าง
<?php
$aa;
$bb = null;
var_dump($aa);
var_dump($bb);
?>
การแสดงผล
null
null
ตัวแปรระบบ
ตัวแปรระบบเป็นตัวแปรที่เป็น Keywords ซึ่งสามารถสร้างและเรียกใช้งานได้
$_SESSION[]; | การเรียกใช้งาน Session ซึ่งจะต้อง session_start(); ก่อนจึงจะใช้งานได้ |
---|---|
$_POST[]; | การรับข้อมูลแบบ Post |
$_GET[]; | การรับข้อมูลแบบ Get |
$_COOKIE[]; | การเรียกใช้งาน Cookie |
$_SERVER[]; | การเรียกใช้งานตัวแปร Server |
เบื้องต้นให้ทราบว่ามีตัวแปรต่างๆ เหล่านี้ก่อน หากต้องการเรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติมจะกล่าวถึงในส่วน PHP ขั้นสูง
ความคิดเห็น